วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

รีวิวตกค้าง "ภูทอก"อำเภอ ศรีวิไล จังหวัด บึงกาฬ

รีวิวตกค้าง "ภูทอก"อำเภอ ศรีวิไล  จังหวัด บึงกาฬ
        รีวิวตกค้าง วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก)” อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ต้องบอกเลยว่าทริปนี้โหดสุดๆ เพราะ GPS พาหลงทางไปด้านหลังเขาโน้น ระหว่างทางต้องเจอกับทางที่เป็นทางลูกลัง หลงเข้าไปในป่าต้นยาง ยิ่งลึกยิ่งน่ากลัว ทางแคบลงเรื่อยๆ


    แต่ก็เป็นภาพที่ไม่ค่อยได้เห็นในเมืองกรุง ที่นี้มีความเจอสงบ เงียบจนขนลุก เพราะความรู้สึกมันบอกว่าที่นี้น่ากลัวปรกติผมเป็นคนที่ไม่ค่อยกลัวอะไรเท่าไหร่ แต่ก็ลุยไปเรื่อยๆจน "หลง"



 มาถึงจุดนี้เริ่มมีความหวังขึ้นมาบ้าง เพราะเริ่มเห็นที่หมายแล้วเทือกเขาภูทอก แต่งวดนี้ก็อีก ต้องเดินทางแข่งกับเวลา เพราะผมทำงานเสดก็เกือบ สี่โมงเย็นแล้ว ก็ว่าจะไปให้ทันพระอาทิตย์ตก คงจะได้รูปสวยๆ






  สุดท้ายก็เจอฮีโร่ของผม ผู้ช่วยอ.บ.ต แก่ช่วยนำทางจนเจอทางออก  ผมถึงได้รู้ว่า ที่ผมมาเป็นด้านหลังเขา กำจริงๆ เจ้า GPS. ยังงัยก็ต้องขอบคุณ พี่ มีชัย ไม่งั้นผมคงหลงอีกนานแน่ๆ

   ในที่สุดก็มาถึง “วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก)” โห้ผมดีใจมากๆ แต่มองเวลาบนข้อมือแล้ว คงต้องรีบแล้ว 5 โมงแล้ว ไม่เคยมาด้วยไม่รู้ว่าต้องไปทางไหน  ผมขับรถต่อเข้าไหนในวัด พอจอดรถเรียบร้อย ผมรีบเตรียมอุปกรณ์ทันที กล้อง แบ๊ตสำรอง เลนส์ 2 ตัว ช่วงหัวค่ำแบบนี้ ต้องมีขาตั้งกล้องด้วยและที่ขาดไม่ได้คงต้องมี สายลั่นชัตเตอร์






     ถึงแล้วทางขึ้นเขา ระหว่างทางที่เดินไป เจอหลวงพี่ แกทักว่า มาเย็นจัง อย่าลืมพกไฟฉายไปด้วยนะ  ขากลับคงค่ำพอดี ไอ้ผมนะ มีไฟฉายนะ แต่อยู่ในรถ ครั้นว่าจะเดินกลับไปคงไม่ไหว คิดว่าไฟจากมือถือก็คงไหว



แต่กำของเวรจิงๆ แบ๊ตมือถือเหลือ 8% คงไม่พอแน่ แต่ก็มาแล้วลุยเป็นลุย ผมไปต่อเดินขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ ขึ้นมาได้สักพัก ต้องนั้งพักตลอดทางเลย เหนื่อยมากร่างกายที่ สูบแต่บุหรี่ กีฬาก็ไมค่อยได้เล่น พอถึงเวลาที่ต้องใช้กำลัง มันเลยเห็นผล เหงือเต็มตัวไปหมดเสื้อเปียกเป็นน้ำเลย แต่ผมก็ต้องเดินต่อไป เพราะจะมืดแล้วเดี๋ยวไม่มีเวลาถ่ายรูป

ระหว่างทางต้องผ่านถ่ำ ทางก็แคบ ผมเดินผ่านเข้าไป กลิ่นอับของหิน บนกลิ่นขี้ค้างคาว มันชวนหัวมาก โดยปรกติแล้ว เขาภูทอกนี่มี เจ็ดชั้น ผมถึงแค่ชั้น สามก็ขาลากแล้ว  แต่ก็ถือว่าเข้าใกล้ธรรมชาติก็มีความสุขแล้ว

 มาถึงชั้นที่ 4 ก็มานมัสการไหว้พระ ก่อนเพราะเริ่มมืดแล้วต้องพึ่งพระ เพราะที่เหลือจากนี้จะไม่เจอใครแล้ว 

      พูดถึง มาที่ภูทอก นี่ผมแทบไม่ได้หาข้อมูลล่วงหน้าเลย ตัดสินใจปุ๊ปก็มา เลยไม่ค่อยจะราบลื่นเท่าไหร่ ติดปัญหาตลอด แต่ก็มาแล้ว ผมเริ่มเก็บภาพที่ล่ะภาพ ที่นี่สวยมาก เป็นวัดที่เงียบสงบ ระหว่างทางที่ถ่ายรูปไป ก็สงบจิตใจไปด้วย 
 
เดี๋ยวยังงัยประวัติของวัดนี้ผมจะลงรายละเอียดตอนท้ายๆ นะครับ ตอนนี้ก็ดูรูปไปเพลินๆก่อน มาถึงตรงนี้ผมก็ต้งเจอปัญหาเพิ่มอีก เมื่อสายลั่นชัตเตอร์ของผมไปเกี่ยวกับต้นไม้ จนพัง หลายคนคงสงสัยว่าสายลั่นชัตเตอร์คืออะไร


มันคืออุปกรณ์ ที่ผมใช้กดชัตเตอร์โดยที่มือของผมไม่ต้องไปกดที่ตัวกล้อง เพราะเวลาที่ผมถ่ายเป็นช่วงหัวค่ำแสงสว่างมีน้อย การที่จะถ่ายรูปในที่ๆแสงน้อยมือต้องนิ่งมากไม่งั้นภาพจะเบรอ

แต่ก็ไม่เป็นไร มาถึงขั้นนี้แล้วก็ต้องถ่ายต่อ ผมแก้ปัญหาโดยการตั้งเวลาถ่ายไว้ ขึ้นมาเรื่อยๆก็จะไม่ค่อยมีวัดแล้ว จะมีก็แต่ป่า ระหว่างที่เดินก็จะมีลิงป่าค่อยสงเสียงทักตลอดทาง  บอกตรงๆนะ ผี ผมไม่กลัวแต่กลัวลิงมากกว่า กลัวมันมาหยิบของหนีขึ้นต้นไม้  และแล้วก็มาถึง...


แสงสุดท้าย บนปลายเขา ผมเริ่มเก็บภาพความทรงจำทันที่ แต่ก็แอบผิดหวังเล็กๆ ไม่ใช้ว่าที่นี่ไม่สวยนะ
แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่ ชาวนา ชาวไร่ เค้าจะเผาป่าเพื่อทำไร นา ทำให้ฟ้าไม่ใสเท่าที่ควร มองไปก็ขาวโพลน แต่ก็เข้าใจเราไม่ศึกษามาให้ดีก่อน

หลังจากเก็บภาพแสงสุดท้ายไปได้สักพักผมก็เดินต่อไปด้านหลังเขา สุดท้ายผมก็ต้องระหลาดใจกับภาพที่เห็น ที่นี่มันมหัศจรรย์ มากๆ สวยจนผม ลืมเหนื่อยลืมเวลา ผมดีใจที่ได้เห็นภาพแบบนี้ สะพานไม้ที่สร้างไว้รอบเขา ให้คนได้เดินไปชมวิว
           ผมเหลือบไปเห็น แลนด์มาร์คของที่นี่ สวยจิงๆ แต่ด้วยเวลาที่กระชับชิดมาเรื่อยๆ ผมจึงต้องรีบถ่ายรูปให้ได้มากที่สุด แต่ก็ลืมไปหลายมุมพอสมควร เสียดายมาก ผมบอกตัวเองเลยว่า ผมจะต้องมาที่นี่อีก "ภูทอก"

   

















 “ภูทอก” ในภาษาอีสานแปลว่า “ภูเขาที่โดดเดี่ยว” แต่ถึงแม้จะได้ชื่อว่าภูเขาโดดเดี่ยว “ภูทอก” ก็ประกอบไปด้วยภูเขาหินทรายสีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่สองลูกเรียงตัวอยู่ใกล้เคียง กัน คือ “ภูทอกใหญ่” และ “ภูทอกน้อย” นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นภูทอกทั้งสองแห่งตั้งอยู่อย่างโดดเด่นได้ตั้งแต่ระยะไกล
บริเวณโดยรอบภูทอกมีทัศนียภาพอันสวยงาม เงียบสงบ รายล้อมไปด้วยป่าทึบซึ่งอุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด จวบจนเมื่อปี พ.ศ. 2512 “พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ” ลูกศิษย์สาย “พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ” ได้เข้ามาจัดตั้งแหล่งบำเพ็ญเพียรเพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อสร้าง “วัดเจติยาคีรีวิหาร” หรือ “วัดภูทอก” และ “สะพานนรก สวรรค์” สะพานไม้ที่สร้างเวียนขึ้นสู่ยอด “ภูทอกน้อย” อย่างพิลึกพิลั่นมหัศจรรย์
  “สะพานนรก – สวรรค์” เป็นสะพานไม้เวียนรอบจากเชิงเขาขึ้นสู่ยอดภูทอกน้อยที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 350 เมตร (ยอดภูทอกน้อยมีระดับความสูงใกล้เคียงกับตึก 60 – 70 ชั้น) สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากเหล่าพระ เณร และชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่โดยรอบบริเวณภูทอก เริ่มต้นการสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2512 ใช้เวลาทั้งหมด 5 ปีจึงแล้วเสร็จ พระอาจารย์จวนผู้บุกเบิกการก่อสร้างวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) หวังจะให้สะพานแห่งนี้สื่อความหมายในแง่ที่ว่า ผู้ซึ่งจะเดินไปตามเส้นทางธรรมที่สามารถน้อมนำให้สัตบุรุษหลุดพ้นไปจากความ ทุกข์ทั้งปวงจนอยู่เหนือโลกได้นั้น จะต้องเป็นผู้มีความเพียรพยายาม ความอดทน และความมุ่งมั่น อีกทั้งยังต้องรู้จักประคับประคอง ควบคุม รักษาสติสัมปชัญญะเอาไว้ให้จงดี ไม่ยอมให้ตนเองตกอยู่ในความประมาท จึงจะสามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ล่วงพ้นไปสู่จุดหมายในท้ายที่สุดได้ (บันได – สะพานไม้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรม , ความสูงชันเป็นดุจดั่งอุปสรรคต่าง ๆ , ยอดภูทอกน้อยเหมือนกับจุดมุ่งหมายสุดท้าย คือ ความหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง หากเดินทางด้วยประมาทขาดสติพลาดพลั้งร่วงหล่นตกลงมาระหว่างทางก็อาจจะต้อง เจ็บปวดรวดร้าวราวกับตกนรก)
“สะพานนรก – สวรรค์” มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ชั้น (สวรรค์ ตามความเชื่อทางพุทธศาสนามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ชั้น ได้แก่ จตุมหาราชิกา , ดาวดึงส์ , ยามา , ดุสิต , นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี แต่การที่ “สะพานนรก – สวรรค์” มี 7 ชั้นนั้นอาจจะเพื่อสื่อความหมายว่ายังมีสภาวะที่อยู่เหนือขึ้นไปจากสวรรค์ ทั้ง 6 อีก ซึ่งก็คือ “นิพพาน” หรือ “ความพ้นไปจากกองทุกข์ทั้งปวง” นั่นเอง) แต่ละชั้นมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
     ชั้นที่ 1 – 2 เป็นเพียงแค่บันไดไม้สู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มมีสะพานเวียนรอบเขา เส้นทางเดินรอบชั้นที่ 3 นี้มีโขดหิน ลานหิน โตรกผา และไม้ยืนต้นขึ้นกางกิ่งใบให้ร่มเงาครึ้ม จากชั้นที่ 3 จะมีทางแยกสองทางโดยทางแยกด้านซ้ายมือจะเป็นบันไดทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ส่วนทางแยกด้านขวาจะเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4

ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองลงไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ย ๆ สลับกันเรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจรดกับ “ภูลังกา” ในเขต อ.เซกา (เดิม อ.เซกา ถือเป็นส่วนหนึ่งของ จ.หนองคาย แต่ปัจจุบันถูกแบ่งแยกออกมาอยู่ในเขต จ.บึงกาฬ เช่นเดียวกับ อ.ศรีวิไล) บนชั้น 4 นี้เป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีจุดให้นั่งพักผ่อนชมทิวทัศน์ระหว่างทางเป็นระยะ ๆ
     ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งของศาลาและกุฏิพระภิกษุสงฆ์ ตามทางเดินรอบชั้นนี้มีถ้ำตื้น ๆ อยู่หลายถ้ำ มีลานกว้างที่สามารถนั่งพักได้อยู่หลายแห่ง มีหน้าผาซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิต , ผาเทพสถิต , ผาหัวช้าง เป็นต้น หากเดินไปทางด้านทิศเหนือจะได้เห็นสะพานหินธรรมชาติซึ่งทอดยาวออกไปเชื่อม กับสะพานไม้สู่ “วิหารพระพุทธ” วิหารที่สร้างขึ้นอย่างแปลกประหลาดพิสดารจนดูราวกับมีใครนำหินก้อนใหญ่ไปวาง ทับไว้บนหลังคาวิหาร วิหารพระพุทธนี้เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและถือเป็นจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมีความงดงามมากที่สุดบนภูทอกน้อยเลยทีเดียว (ทีม งานท่องเที่ยวดอทคอมแนะนำว่า “วิหารพระพุทธ” คือ สถานที่ซึ่งทุก ๆ คนที่สู้อุตส่าห์เดินขึ้น “สะพานนรก – สวรรค์” มา ไม่ควรพลาดการแวะเยี่ยมชมอย่างยิ่งครับ)
     จากวิหารพระพุทธจะสามารถมองเห็นแนวของ “ภูทอกใหญ่” ที่วางตัวอยู่ใกล้ ๆ ได้อย่างชัดเจน
ผู้ซึ่งเดินขึ้นมาตาม “สะพานนรก – สวรรค์” ส่วนใหญ่มักจะหยุดการเดินทางอยู่เพียงแค่ชั้นที่ 5 เนื่องจากชั้นที่ 6 เป็นสะพานไม้แคบ ๆ เวียนรอบเขาเกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียว แต่หากลองแข็งใจเดินขึ้นมายังสะพานชั้นที่ 6 ดูก็จะพบกับจุดชมทิวทัศน์สวย ๆ ที่สามารถถ่ายภาพ “วิหารพระพุทธ” จากมุมสูงได้ สะพานชั้นที่ 6 นี้มีความยาวรอบเขาทั้งหมดประมาณ 400 เมตร (สะพานชั้นที่ 6 มีความยาวใกล้เคียงกับสะพานชั้นที่ 4) และมีบันไดไม้ทอดยาวขึ้นไปสู่ยอดภูทอกน้อยเป็นชั้นสุดท้าย
       บริเวณยอดภูทอกน้อยมีแมกไม้ใหญ่น้อยขึ้นยืนต้นบดบัง ทัศนียภาพโดยรอบทำให้ไม่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ เบื้องล่างได้ชัดเจนนัก แต่ก็มีทางดินที่สามารถเดินไปชมความงดงามของวิหารพระพุทธจากมุมสูงได้เช่น เดียวกับบริเวณสะพานนรก – สวรรค์ชั้นที่ 6 ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมแนะนำว่าหากคุณรู้สึกว่าเรี่ยวแรงภายในร่างกายเริ่ม หดหายคล้ายจะเป็นลมหน้ามืดก็คงไม่จำเป็นต้องเดินทนขึ้นมาถึงยอดภูทอกน้อยก็ ได้ เพราะจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามที่สุดบนภูทอกน้อยนั้นอยู่บริเวณสะพานนรก – สวรรค์ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 6 ไม่ใช่จุดชมทิวทัศน์บนยอดภูทอกน้อยดังที่หลาย ๆ คนเข้าใจกันแต่อย่างใด..